วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประการที่สาม การสร้างสมดุลระหว่างมหาอำนาจเก่าและมหาอำนาจใหม่

แนวโน้มที่เศรษฐกิจโลกจะมีหลายขั้วอำนาจมากขึ้น การแข่งขันระหว่างขั้วอำนาจเก่าและขั้วอำนาจใหม่จะเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก จีนพยายามขยายอิทธิพลไปยังกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในอาเซียน ตะวันออกกลาง ละตินอเมริกา และอาฟริกา ขณะที่อินเดียเป็นแกนนำสำคัญของกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สหรัฐฯ จึงเริ่มขยับตัว หันมาให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น หลังจากที่มีท่าทีไม่ใส่ใจประเทศเหล่านี้มาเป็นเวลานาน

สถานการณ์เช่นนี้ อาจเป็นประโยชน์สำหรับประเทศกำลังพัฒนา เพราะจะทำให้ประเทศมหาอำนาจหันมาให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น ทั้งการให้สิทธิพิเศษทางการค้า เงินช่วยเหลือ หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี แต่ในขณะเดียวกัน การแข่งขันของมหาอำนาจขั้วต่างๆ ก็เป็นความท้าทายสำหรับประเทศไทยในการสร้างสมดุลระหว่างขั้วอำนาจต่างๆ คำถามคือ ไทยจะดำเนินยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไร จะรักษาดุลอำนาจของมหาอำนาจที่มีต่อไทยอย่างไร เพื่อให้ไทยได้รับประโยชน์สูงสุดในสถานการณ์เช่นนี้

ระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ : ความท้าทายและผลกระทบต่อประเทศไทย
ประการแรก การแข่งขันที่รุนแรงจากเศรษฐกิจเกิดใหม่
ประการที่สอง การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจเกิดใหม่
ประการที่สาม การสร้างสมดุลระหว่างมหาอำนาจเก่าและมหาอำนาจใหม่
ประการที่สี่ การบริหารความเสี่ยงจากความซับซ้อนของเศรษฐกิจโลก
ประการที่ห้า การกีดกันทางการค้าและการช่วยเหลือโดยรัฐ
ประการที่หก การรักษาความมั่นคงและยั่งยืนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (1)
ประการที่หก การรักษาความมั่นคงและยั่งยืนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2)

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น