วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประการแรก การแข่งขันที่รุนแรงจากเศรษฐกิจเกิดใหม่

ประเทศไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในทวีปอาฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งมีแรงงานราคาถูก และทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเดิมและประเทศที่มีศักยภาพเป็นมหาอำนาจใหม่จะแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจและทรัพยากรในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ มากขึ้น ตัวอย่างเช่นประเทศจีนเข้าไปลงทุนและให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา เช่น ลาว กัมพูชา เมียนม่าร์ ประเทศในอาฟริกา เป็นต้น

ตัวอย่างของประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพในการเติบโตและเป็นคู่แข่งของไทย อาทิ อินโดนีเซียซึ่งมีตลาดขนาดใหญ่จากจำนวนประชากรถึง 240 ล้านคนและมีสภาพทางการเมืองที่มีความมั่นคงมากขึ้น อินโดนีเซียจึงมีความน่าลงทุนและมีศักยภาพในการเติบโต โดยมีการคาดการณ์ว่าอินโดนีเซียจะกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลกในปี 2593 อีกประเทศหนึ่งคือ เมียนม่าร์ ซึ่งมีการพัฒนาประชาธิปไตยในทิศทางที่ดีขึ้น มีทรัพยากรด้านพลังงานจำนวนมาก และมีภูมิศาสตร์อยู่ระหว่างอาเซียน จีนและอินเดีย ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวสูง

ระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ : ความท้าทายและผลกระทบต่อประเทศไทย
ประการแรก การแข่งขันที่รุนแรงจากเศรษฐกิจเกิดใหม่
ประการที่สอง การแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากเศรษฐกิจเกิดใหม่
ประการที่สาม การสร้างสมดุลระหว่างมหาอำนาจเก่าและมหาอำนาจใหม่
ประการที่สี่ การบริหารความเสี่ยงจากความซับซ้อนของเศรษฐกิจโลก
ประการที่ห้า การกีดกันทางการค้าและการช่วยเหลือโดยรัฐ
ประการที่หก การรักษาความมั่นคงและยั่งยืนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (1)
ประการที่หก การรักษาความมั่นคงและยั่งยืนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2)

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น