วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดความสำเร็จที่ความพยายาม

ความคิดของการกระทำดีเลิศในทุกสิ่ง วัดที่ความตั้งใจภายในมากกว่าผลที่แสดงออกภายนอก ความสำเร็จในการทำงานของเราไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขอื่น นอกจากว่าเราพยายามอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ทำแล้วหรือยัง ถ้าเราพยายามอย่างเต็มที่สุดกำลังสติปัญญา สุดความพากเพียรแล้ว ผลงานที่ได้รับเป็นเช่นไร เราควรภูมิใจเช่นนั้น เราควรให้กำลังใจตนเองให้มีความเชื่อมั่นและมีความภาคภูมิใจในความสามารถของตัวเอง ให้มุ่งมั่นทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด แม้ว่าผลลัพท์ออกมาอาจไม่ดีเลิศตามเป้าประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อวยพรวันขึ้นปีใหม่จีน 2555


ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดไช้
ขอพรให้ มั่งคั่ง ทั้งสุขขี
ให้การค้า ก้าวรุก สุขภาพดี
พร้อมพรั่งมี บริวาร เบิกบานใจ

ด้วยความปรารถนาดี และจริงใจ
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

ดร.แดน ขอบคุณเพื่อน

ผมขอขอบคุณสำหรับคำกลอนอวยพรปีใหม่ จากคุณ "สมาพล พิลาธิวัฒน์" ที่ส่งมาให้ ผมได้รับเรียบร้อยแล้ว ขอบคุณมากครับ

และในโอกาสนี้ ขอขอบคุณทุกคำอวยพรทั้งทางข้อความโทรศัพท์ ข้อความในเฟสบุค ทางอีเมล์ และอื่น ๆ ผมซาบซึ้งใจในมิตรภาพและขอทุกคำอวยพรย้อนคืนสู่ผู้มอบให้ทุกท่านให้มีแต่ความเจริญก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในกิจการงาน สุขภาพแข็งแรงครับ


วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวหน้างานประเมินผลอย่างไรให้ยุติธรรม

จัดทำมาตรฐานการประเมินที่ชัดเจน ในการประเมินพนักงานแต่ละคน ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานที่ละเอียดและชัดเจนพอที่จะสามารถประเมินแต่ละบุคคลได้ และสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ เมื่อเราประเมินแล้ว ผู้บริหารระดับสูงสามารถพิสูจน์ความจริงได้

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวหน้างานกับการประเมินแบบล้างแค้นให้สะใจ

ประเมินแบบล้างแค้นให้สะใจ เมื่อหัวหน้างานต้องประเมินผลลูกน้องที่ตนรู้สึก "ไม่ชอบหน้า" อาจด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น เพราะเขาเป็นคนหยิ่ง เห็นแก่ตัว ชอบโต้แย้ง ไม่ฟังคำสั่ง ถือว่าตนเองมีการศึกษาดีกว่า หลายครั้งเรารู้สึกเหมือนถูกพูดจาดูถูกดูแคลน ทำให้ในใจลึก ๆ ไม่อยากร่วมงานกับคน ๆ นี้ เวลาประเมินผลเราย่อมมีแนวโน้มให้คะแนนต่ำ ๆ หรือประเมินให้รู้สึกว่าเขาต้องรับโทษในสิ่งที่ทำกับเรา ทั้ง ๆ ที่ในงานที่ทำเขาอาจเป็นคนที่รับผิดชอบงานดี มีความคิดสร้างสรรค์ แต่เรากลับละเลยประเด็นเหล่านี้ไป

คำแนะนำภาคปฏิบัติ เพื่อลูกอ่านหนังสืออย่างนักเรียนรู้

เน้นความสำคัญ - ขีดเส้นใต้ / ทำเครื่องหมาย / สร้างสัญลักษณ์ เหนือข้อความที่เราคิดว่าสำคัญ อาจวงกลมล้อมรอบข้อความสำคัญนั้น หรือ ใส่เครื่องหมาย * อยู่เหนือข้อความ ถ้าสำคัญมากและต้องกลับมาทบทวนอาจเพิ่มจำนวนเป็น *** ตามความสำคัญของเนื้อหา เมื่อเราขีดเส้นใต้ หรือทำเครื่องหมายตรงข้อความที่เราเห็นว่าสำคัญ เราจะรู้ถึงความคิดของผู้เขียนได้อย่างคมชัดมากยิ่งขึ้น