วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาข้าราชการไทย ช่วงที่ 2

เป็นที่ทราบกันดีว่า แต่เดิมระบบการให้ผลตอบแทนข้าราชการไทย เป็นระบบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยเฉพาะการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือน เนื่องจากมีการปรับขึ้นเงินเดือนเลื่อนเป็นขั้น ทุกปีมีการเลื่อนขั้นโดยไม่ขึ้นกับว่าข้าราชการคนดังกล่าวจะมีผลงานหรือไม่มีผลงาน ด้วยระบบการให้ผลตอบแทนดังกล่าวนี้เองทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในระบบราชการไทย กล่าวคือ ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีที่สุด กลับไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด แต่กลับรับผลตอบแทน ในระดับที่ไม่แตกต่างจากผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับอื่น ซึ่งไม่จูงใจให้ข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ท้ายที่สุดแล้วทำให้ระบบไม่สามารถรักษาข้าราชการที่มีคุณภาพเอาไว้ได้ เนื่องจากข้าราชการเหล่านี้เลือกที่จะลาออกไปทำงานบริษัทเอกชนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มาตรา 76 จะกำหนดให้ข้าราชการที่เป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ที่ต้องประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง และเลื่อนเงินเดือน รวมถึงนำผลการประเมินดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอดคล้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐแนวใหม่ซึ่งในความเป็นจริงกลับพบว่ายังคงประสบปัญหาในแง่การนำไปปฏิบัติเนื่องจากผู้บังคับบัญชา ยังไม่สามารถชี้ระดับที่แตกต่างของผู้อยู่ใต้บังคบบัญชาได้ มีผลทำให้การตอบแทนกระจุกตัวแทนที่จะกระจายตัว สภาพเช่นนี้ทำให้ข้าราชการไทยขาดแรงจูงใจ ขวนขวาย กระตือรือร้นในการทำงาน

จากหนังสือ คานงัดประเทศไทย
ปัญหาข้าราชการไทย ช่วงที่ 1
ปัญหาข้าราชการไทย ช่วงที่ 2
ปรับระบบให้ผลตอบแทนข้าราชการผูกติดกับผลงานได้อย่างแท้จริง
จะทำอย่างไรกับข้าราชการที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น