ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09 |
การเตรียมเพิ่มวัคซีนและยาป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและยาต้านไวรัส ฮาร์วาร์ดมีแผนที่จะเพิ่มวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจาก 12,000 โดส เป็น 19,000 โดส ตลอดจนแจกจ่ายวัคซีนเหล่านี้ไปตามคลินิกต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้ครอบคลุมและทั่วถึงมากขึ้นภายในเดือนตุลาคมนี้ อีกทั้ง ฮาร์วาร์ดยังมีแผนเพิ่มจำนวนยาต้านไวรัส อาทิ ทามิฟลู (Tamiflu) ให้มากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากยาต้านไวรัสที่ฮาร์วาร์ดมีอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ในการรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รอบที่สอง
การตรวจสอบความปลอดภัยของสถานที่ทำงานและให้ความช่วยเหลือกับพนักงาน ซึ่งคาดว่าจะติดเชื้อไวรัสดังกล่าว ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนในมหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกับ Harvard Human Resources เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลือกับพนักงานเหล่านี้ในการป้องกันและดูแลตนเอง ตลอดจนเพื่อไม่ให้เป็นพาหะแพร่เชื้อไปสู่นักศึกษาและบุคลากรคนอื่น ๆ
การร่วมมือกับชุมชนในการป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือการแพร่ระบาด ฮาร์วาร์ดไม่ได้มีมาตรการที่ครอบคลุมเฉพาะเพียงแค่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการร่วมมือกับกลุ่มผู้นำเมืองบอสตัน เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางการป้องกันและการเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้ด้วย โดยเมื่อต้นสิงหาคมที่ผ่านมาโรงเรียนแพทย์แห่งฮาร์วาร์ด ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับกลุ่มผู้นำเมืองบอสตันจัดการประชุมที่เรียกว่า Boston Influenza Preparedness Summit เพื่อแสวงหาแนวทางการป้องกันและกำหนดยุทธศาสตร์การยับยั้งการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รอบ 2 ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 2 – 3 เดือนข้างหน้าร่วมกัน ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้นำชุมชนและผู้นำธุรกิจของเมืองบอสตันเป็นอย่างมาก
ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยไทย
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้แพร่ระบาดสู่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันมียอดจำนวนผู้เสียชีวิต 119 คน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างร่วมมือกันรักษา ดูแล ป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดอย่างมาก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในประเทศไทย ยังคงต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องด้วย อาจมีการแพร่ระบาดรอบ 2 ในช่วงอีก 2 เดือนข้างหน้า ที่เป็นรอยต่อระหว่างหน้าฝนต่อกับหน้าหนาว
ที่ผ่ามมา มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางวิชาการระดับสูง มีบทบาทเป็นผู้นำทิศทางทางวิชาการ และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้สังคม ดังเช่นสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่เกิดขึ้น มหาวิทยาลัยไทยที่มีคณะแพทย์ศาสตร์ ต่างมีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็นการผลิตชุดตรวจวัด เร่งดูแลและรักษาผู้ป่วยจำนวนมาก ฯลฯ ซึ่งนับเป็นการตอบสนองได้อย่างเท่าทันสถานการณ์
แต่ถึงกระนั้น บทบาทของมหาวิทยาลัยในการเฝ้าระวังและดูแลสภาวะวิกฤตต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ควรมีกลไกและระบบการทำงานที่ตอบสนองรวดเร็วและเด่นชัด ในการเป็นผู้นำและมีระบบจัดการภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเป็นรูปธรรม รวมถึงการพัฒนางานวิจัยและงานวิชาการในสถานการณ์วิกฤตอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการควบคุมการระบาดและการมีส่วนแก้ไขสถานการณ์วิกฤต อีกทั้งควรผลิตและนำเสนอข้อมูลทางวิชาการสู่สาธารณชน ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่ายและเข้าถึงได้ อันจะเป็นตัวแบบที่ดีและเป็นที่พึ่งหลักให้แก่สังคม
ตอนต้น ตอนจบ
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น