วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

การรับตรง ในสถาบันอุดมศึกษา

มหาวิทยาลัยระบบใดก็ตาม ก็มีทั้งจุดแข็งจุดอ่อนทั้งสิ้น มหาวิทยาลัยทั่วโลกที่มีคุณภาพส่วนใหญ่ จะใช้วิธีรับตรง ทุกคนรับตรงตามที่ตนเองมีเงื่อนไขสำคัญว่า อยากได้นักศึกษาประเภทไหนก็รับบนเงื่อนไขแบบนั้น วิธีนี้คงจะทำให้มหาวิทยาลัยสามารถมีอิสรภาพสูงสุดในการเลือกคน

ขณะเดียวกันถ้าเขาแน่ใจว่าคนที่เข้ามาติดขัดอยู่ตรงไหน ก็นำแต่วิชาที่ตนเองสนใจ เช่น หากมาเรียนวิศวะฯ ต้องมีพื้นฐานฟิสิกซ์ คณิตศาสตร์ อย่างเพียงพอ ก็ไปให้น้ำหนักตามที่คณะวิศวะฯ สนใจ ว่าต้องการตัวไหนเป็นน้ำหนัก ไม่อย่างนั้นจะเกิดปัญหาคือ นักศึกษาเอาวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ได้เข้า แต่เรียนไม่ไหว รู้วิชาอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นคณะและมหาวิทยาลัยถ้ามีเงื่อนไขอะไรก็ให้รับตามเงื่อนไขตัวเองก็จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ

ที่มา http://www.drdancando.com
ต่างประเทศมหาวิทยาลัยที่ดีๆให้เข้ามหาวิทยาลัยไปเลยและอยากเรียนคณะไหนก็เรียนได้หมดตามใจ

1.เด็กไปวิ่งรอกสอบที่ต่างๆ จนทำให้ต้องเสียเงินเยอะในการสมัคร ทำให้คนจนเสียเปรียบ

2.การไปวิ่งรอกสมัครที่ต่างๆ ทำให้เรียนหนังสือไม่เต็มที่ เพราะต้องไปสอบที่ต่างๆ ทำให้เสียเวลามากมาย ไม่ได้ทุ่มเทในการเรียน

สิ่งนี้ก็จะบีบรัดนักศึกษาไปในตัวว่าชีวิตจริงมีเวลาจำกัด จำเป็นต้องเลือกไปสอบในบางที่ บางแห่ง ในต่างประเทศใช้วิธี ให้ช่วงในการรับใกล้เคียงกัน เพื่อจะสามารถทำให้ทุกคนต้องตัดสินใจใกล้ๆ กัน เลือกระหว่างมหาวิทยาลัยที่อยากไปจริงๆ ก็จะทำให้ไม่ต้องวิ่งรอกมากมาย

อีก อย่างหนึ่งปัญหาที่เกิด ถ้าเราจะทำให้เป็นรูปแบบแก้ไขก็ทำไปแบบอเมริกาหรืออังกฤษ อเมริกามีการทดสอบหลักๆ คือให้แน่ใจว่าภาษาใช้การได้ คณิตศาสตร์ใช้การได้ วิเคราะห์ใช้การได้ เป็นพื้นฐานก็พอ แล้วพอเข้าไปในมหาวิทยาลัยแล้ว และจะเลือกเรียนคณะไหนก็เลือกเองได้ตามใจ โดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขของคณะอีกที ต่างกับเมืองไทยที่เข้าคณะไม่ได้ให้เข้ามหาวิทยาลัย ของต่างประเทศมหาวิทยาลัยที่ดีๆให้เข้ามหาวิทยาลัยไปเลยและอยากเรียนคณะไหน ก็เรียนได้หมดตามใจ โดยขอให้เรียนตรงตามเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยตั้งไว้ก็จะจบ

ดังนั้นทิศทาง ของเรานั้นคาบลูกคาบดอกไม่เต็มที่สักอย่าง สมมติถ้าเป็นเด็กที่มีคุณภาพ แต่บังเอิญมีฐานคณิตศาสตร์ไม่เพียงพอ แต่ตัดสินใจจะมาเรียนคณะที่ใช้คณิตศาสตร์มาก ก็สามารถไปเลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้นที่ขาด ที่ไม่ได้เรียนมาเต็มที่ตอนมัธยมได้ด้วย และก็จะเอาวิชาเหล่านี้ไปเป็นเงื่อนไขก่อนจะไปนับเข้าอยู่ในการจบ ก็จะช่วยทำให้ไม่ขาดความต่อเนื่อง

วิธีการที่น่าจะดีที่สุดก็คือเป็น วิธีการให้มหาวิทยาลัยรับตรง ไม่ใช่คณะรับตรง แล้วทำให้เหมือนอย่างอเมริกา เหมือนที่อังกฤษทำ ก็คือเข้ามหาวิทยาลัยไปแต่อาจมีแนวทางว่าจะไปอยู่คณะไหน นิยมคณะไหนเป็นหลัก ก็อาจจะต่างกันบ้างกับอเมริกา แต่ของอเมริการับตรงเข้าไปมหาวิทยาลัย แล้วเลือกคณะทีหลัง แบบนี้ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้น และเวลาสอบกลางก็ไม่ใช่สอบวิชาทั่วไป ก็ไปสอบเฉพาะวิชาประเภทสถิติ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาเกี่ยวกับคณิตพื้นฐาน วิชาวิเคราะห์ วิชาภาษา ต้องการอะไรก็เอาวิชาหลักๆ เป็นพื้นฐานไว้ ให้ทุกคนสอบเหมือนกัน แล้วถ้าต้องการลงเชี่ยวชาญพิเศษด้านใดก็ไปเลือกสอบได้ เอาคะแนนเหล่านี้ไปใช้ได้ แล้วองค์ประกอบอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยต้องการ อาจจะเป็นเรื่องกิจกรรมนอกหลักสูตร สิ่งที่ทำมาในชีวิต การเขียนเรียงความ ให้เล่าแรงบันดาลใจในการอยากเข้าเรียน สิ่งเหล่านี้ก็จะกลายเป็นมาตรฐานคล้ายๆ กับประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนอังกฤษ มหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น อ๊อกซ์ฟอร์ด เคมบริดจ์ ก็จะมีระบบที่เข้าไปสู่มหาวิทยาลัย และมีโรงเรียน, วิทยาลัยที่ต้องเข้าคู่ต่อมหาวิทยาลัย แต่ของเราไม่มีแบบนั้น

ฉะนั้นเราก็ใช้วิธีเข้าตรงไปที่มหาวิทยาลัยแล้วก็ใช้วิธีแบบที่อเมริกาทำก็ได้ แบบนี้ดีที่สุด และก็อย่าให้ค่าสมัครแพงมากนัก อย่าเอากำไรมาก เอาแค่ต้นทุนจริงๆ ที่ใช้ในการจัดการ นักศึกษาจะได้ไม่เสียเปรียบ แล้วถ้าสามารถกำหนดวัน เวลา การรับสมัครต่างๆ แล้วมหาวิทยาลัยตอบรับ เชิญให้รับสมัครเรียนจริงๆ ก็ให้ตอบมหาวิทยาลัยว่าจะเรียนหรือไม่ ภายในวันที่ใกล้ๆ กัน ก็จะช่วยทำให้เกิดการตัดสินใจทางใดทางหนึ่ง วิธีการแบบสอบกลางๆ ก็สะดวกนักศึกษา แต่ข้อสอบจะมาตรฐานหรือไม่ ที่จะเอาไปใช้ประโยชน์ในการเลือกนักศึกษา ก็ทำให้มหาวิทยาลัยลำบากเหมือนกัน เวลานี้ระบบที่เป็นปัจจุบันก็ยังใช้ไม่ได้ ระบบที่จะกลับไปใช้ข้อสอบกลางก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีการใหม่น่าจะเอาแบบอเมริกา อย่างมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาก็ใช้วิธีนี้ทั้งนั้น เป็นวิธีที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล แทนที่จะมาสร้างระบบของเราเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น