ดร.แดน เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ อวยพร เนื่องในวันปีใหม่ 2555 ปรารถนาอยากเห็นเมืองไทยเป็นอารยะ และอวยพรให้พี่น้อง มิตรสหายมีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุข
วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รู้จักเลือกสิ่งที่จะเรียนรู้
เซอร์อาร์เธอร์ โคแนน ดอยซ์ ผู้สร้างตำนานนวนิยายสืบสวนสอบสวน “เชอร์ ล็อก โฮล์มส” ที่รู้จักกันทั่วโลก ในเรื่อง A Study in Scarlet เขาเขียนบทให้เชอร์ ล็อก โฮล์มส กล่าวว่า
ตีความข้อมูลที่ได้รับ เพื่อทำความเข้าใจ
ในความเป็นจริงสมองของเรามีศักยภาพด้านการวิเคราะห์เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เช่นเดียวกับศักยภาพด้านความคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยสมองในส่วนของการวิเคราะห์จะเป็นส่วนเดียวกับสมองในส่วนของการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นการทำงานของสมองซีกซ้าย เมื่อรับข้อมูลต่างๆ เข้ามาทางประสาทสัมผัส สมองจะทำการตีความข้อมูลที่ได้รับโดยวิเคราะห์เทียบเคียงกับข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้นในความทรงจำ จากนั้นสมองจะทำการจะแนกแยกแยะความเหมือนและความแตกต่างของข้อมูลที่ได้รับพยายามเชื่อมโยงเหตุและผลของเรื่องราวที่เกิดขึ้น เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การพูดคุยกันของหญิงสาวสองคน
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554
หนีความเกียจคร้าน และมุมานะอย่างต่อเนื่อง
ความเกียจคร้าน คือ ศัตรูสำคัญของความเป็นเลิศ มันคอยขัดขวาง ไม่ให้เราทำสิ่งที่สำคัญและจำเป็น ด้วยคำพูดล่อหลอกโน้มน้าวใจ “อีกนิดนะ” “พรุ่งนี้ยังทัน” “ไม่ทำไม่ได้หรือ” “แค่นี้ก็พอแล้ว”
ความสำเร็จไม่ได้เป็นของคนเก่ง แต่เป็นของคนที่มุมานะ บากบั่น พากเพียร และแม้ล้มเหลวก็ไม่เลิกรา”
การปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนา สู่ความเป็นเลิศ ดังนั้นคู่แข่งสำคัญที่ต้องเอาชนะให้ได้คือ ความบกพร่อง และความผิดพลาดของตนเอง
สมองวิเคราะห์ได้อย่างไร
ในหนังสือลายแทงนักคิดของ ดร.เกรียงศักดิ์ ได้ปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติการคิดของสมอง เมื่อสมองรับข้อมูลเข้ามาจากประสาทสัมผัสจะทำการตีความข้อมูลนั้นโดยใช้กรอบโลกทัศน์/ชีวทัศน์ร่วมกับการใช้เหตุผลและความรู้จากภายนอก เพื่อทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เห็น/รับรู้นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร อันจะนำไปสู่การประเมินหาข้อสรุปให้กับเรื่องนั้น (เกรียงศักดิ์, 2544 : 1)
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554
แรงจูงใจให้คนเก่งมาเรียนครู (5)
การเปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นเรียนวิชาครูแบบเข้มข้นระยะสั้น
วิธีการหนึ่งที่จะสามารถทำให้คนเก่งจากสาขาอื่นเข้ามาเรียนครูได้ง่ายมากขึ้น คือการเปิดโอกาสให้คนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดก็ตาม สามารถมาเรียนวิชาชีพครูแบบเข้มข้น โดยอาจเป็นการเรียนต่อยอดเรียนวิชาครูอีก 1 ปี หรือเรียนครบตามหน่วยกิตวิชาครูพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งเป็นการเรียน หลักสูตรแบบเข้มข้น (intensive program) เน้นแต่แก่นความรู้หลัก ๆ ในวิชาชีพครูต่อยอดจากฐานความรู้เดิม เพื่อคัดคนเก่งจากทุกสาขาที่จบมาแล้วเข้าสู่วิชาชีพครูได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นเรียนครูใหม่ ทั้งนี้เพราะว่าหากได้ผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งอย่างเฉพาะเจาะจงในวิชาที่จะนำไปสอน จะทำให้สามารถสอนได้อย่างดีภายหลังจากได้รับการ อบรมพื้นฐานความเป็นครูแล้ว เช่นคนที่สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ เมื่อได้เรียนวิชาการเป็นครูเพิ่มเติม ย่อมช่วยให้เขาสอนวิชาฟิสิกส์ได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการได้คนที่เรียนสาขาวิชาเฉพาะทางมาเรียนวิชาครูแบบต่อยอดจากฐานความรู้เดิม จะเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เราสามารถผลิตครูที่ชำนาญการสอนสาขาวิชาเฉพาะทางอย่างแท้จริง
วิธีการหนึ่งที่จะสามารถทำให้คนเก่งจากสาขาอื่นเข้ามาเรียนครูได้ง่ายมากขึ้น คือการเปิดโอกาสให้คนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดก็ตาม สามารถมาเรียนวิชาชีพครูแบบเข้มข้น โดยอาจเป็นการเรียนต่อยอดเรียนวิชาครูอีก 1 ปี หรือเรียนครบตามหน่วยกิตวิชาครูพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งเป็นการเรียน หลักสูตรแบบเข้มข้น (intensive program) เน้นแต่แก่นความรู้หลัก ๆ ในวิชาชีพครูต่อยอดจากฐานความรู้เดิม เพื่อคัดคนเก่งจากทุกสาขาที่จบมาแล้วเข้าสู่วิชาชีพครูได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นเรียนครูใหม่ ทั้งนี้เพราะว่าหากได้ผู้ที่มีความรู้ลึกซึ้งอย่างเฉพาะเจาะจงในวิชาที่จะนำไปสอน จะทำให้สามารถสอนได้อย่างดีภายหลังจากได้รับการ อบรมพื้นฐานความเป็นครูแล้ว เช่นคนที่สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ เมื่อได้เรียนวิชาการเป็นครูเพิ่มเติม ย่อมช่วยให้เขาสอนวิชาฟิสิกส์ได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการได้คนที่เรียนสาขาวิชาเฉพาะทางมาเรียนวิชาครูแบบต่อยอดจากฐานความรู้เดิม จะเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เราสามารถผลิตครูที่ชำนาญการสอนสาขาวิชาเฉพาะทางอย่างแท้จริง
วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การวิเคราะห์ทำหน้าที่เพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่นๆ
ในท่ามกลางสิ่งต่างๆ ที่ดูภายนอกคล้ายคลึงกัน หรือมีความคลุมเครือดูไม่ออกว่าเป็นอะไร จึงต้องมีการวิเคราะห์เพื่อจำแนกความแตกต่างของสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่นๆ โดยวินิจฉัยให้เห็นถึงข้อแตกต่าง และทำให้ข้อแตกต่างนั้นโดดเด่นขึ้นมา เช่น
..ชาวประมงผู้ช่่ำชองสามารถแยกแยะแสงไฟใด เป็นแสงไฟจากประภาคาร ท่ามกลางหมอกที่หนาทึบในเวลากลางคืนได้
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การวิเคราะห์เพื่อแจแจงให้รู้ว่าสิ่งนั้นประกอบด้วยอะไร
การวิเคราะห์เป็นการค้นหาว่าสิ่งนั้นทำมาจากอะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง โดยการแตกสิ่งนั้นออกเป็นส่วนย่อย ๆ และแจกแจงรายละเอียดของส่วนประกอบย่อย ๆ ทั้งหมด โดยอาจจะจัดแยกเป็นหมวดหมู่หรือตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้เห็นทุกองค์ประกอบอย่างครบถ้วน และตรวจสอบโครงสร้างของสิ่งนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าส่วนต่าง ๆ ในแต่ละส่วนย่อยนั้นประกอบกันขึ้นมาได้อย่างไร
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การวิเคราะห์คืออะไร
การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การจำแนก แยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาว่าทำมาจากอะไร มีองค์ประกอบอะไรประกอบขึ้นมาได้อย่างไร เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ทำงานแบบเข้าตานาย - กระตือรือร้นเสมอ
การทำงานกับหัวหน้างานให้มีความสุขและสนุกสนาน เราควรทำงานด้วยความกระตือรือร้น ขยันขันแข็ง เอาใจใส่ รับผิดชอบต่อหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ หากได้รับการร้องขอจากหัวหน้างานให้ช่วยเหลืองานในกรณีพิเศษ แม้จะไม่ใช่งานในความรับผิดชอบ ควรยินดีรับคำสั่งโดยไม่ปัดงานและช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ การทำเช่นนี้ หัวหน้างานย่อมเกิดความประทับใจและชื่นชมเราอยู่ในใจว่าเป็นผู้ร่วมงานที่ดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการแสดงออกให้หัวหน้ามั่นใจว่า เราจะร่วมแรงเป็นกำลังสำคัญนำพาหน่วยงานไปถึงเป้าหมาย
วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554
คำนิยม ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน ให้กับหนังสือ คานงัดประเทศไทย
หนังสือของ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เป็นความพยายามที่จะวิเคราะห์ปัญหาสังคมไทยและหาทางออก มีลักษณะเป็นการพยายามจุดประกายความคิดโดยวิเคราะห์ปัญหาแบบ “แหวกแนว” หรือ paradigm shift ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางวิชาการ เป็นการนำเสนอเพื่อให้มีการสานต่อ
ข้อเสนอที่กล่าวในหนังสือนั้นจะต้องมีการคิดค้นศึกษาเพิ่มเติมโดยการต่อยอด หรือคัดค้านไม่เห็นด้วย ที่สำคัญ จะต้องมีการเสนอทางออกโดยมีข้อมูลครบถ้วนมากกว่าจะเป็นเพียงประเด็นจุดประกายความคิด มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เสนอทางออกโดยมีโครงการในการปฏิบัติอย่างละเอียด ที่สำคัญจะต้องสามารถมองเห็นในภาพรวมของการแก้ไขปัญหาในสังคมและการพัฒนาประเทศ
ข้อเสนอที่กล่าวในหนังสือนั้นจะต้องมีการคิดค้นศึกษาเพิ่มเติมโดยการต่อยอด หรือคัดค้านไม่เห็นด้วย ที่สำคัญ จะต้องมีการเสนอทางออกโดยมีข้อมูลครบถ้วนมากกว่าจะเป็นเพียงประเด็นจุดประกายความคิด มีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เสนอทางออกโดยมีโครงการในการปฏิบัติอย่างละเอียด ที่สำคัญจะต้องสามารถมองเห็นในภาพรวมของการแก้ไขปัญหาในสังคมและการพัฒนาประเทศ
คำนิยม ฯพณฯ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ให้กับหนังสือ คานงัดประเทศไทย
ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตที่มาบรรจบพบกันหลายด้าน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และภัยธรรมชาติ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
แต่คนไทย ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคประชาชน ไม่ได้ท้อแท้ท้อถอย กลับใช้วิกฤตเป็นโอกาส คิดค้นหาทาง “ปฏิรูป” ประเทศไทย ในหลาย ๆ มิติ เพื่อให้นำมาซึ่งระบบ โครงสร้าง กลไก หลักการ วิธีการ ฯลฯ ที่ดีกว่า ที่ จะช่วยให้ประเทศไทยไม่ต้องพบกับวิกฤตหนักหนาดังเช่นที่ประสบอยู่ และก่อให้เกิดระบบใหม่ โครงสร้างใหม่ กลไกใหม่ หลักการใหม่ วิธีการใหม่ ฯลฯ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญให้บ้านเมืองของเรา สังคมของเรา ชีวิตของเรา มีความเจริญก้าวหน้า แบบมั่นคง ยั่งยืน สมานฉันท์ เท่าเทียม เป็นธรรม และสันติสุข มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา
แต่คนไทย ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคประชาชน ไม่ได้ท้อแท้ท้อถอย กลับใช้วิกฤตเป็นโอกาส คิดค้นหาทาง “ปฏิรูป” ประเทศไทย ในหลาย ๆ มิติ เพื่อให้นำมาซึ่งระบบ โครงสร้าง กลไก หลักการ วิธีการ ฯลฯ ที่ดีกว่า ที่ จะช่วยให้ประเทศไทยไม่ต้องพบกับวิกฤตหนักหนาดังเช่นที่ประสบอยู่ และก่อให้เกิดระบบใหม่ โครงสร้างใหม่ กลไกใหม่ หลักการใหม่ วิธีการใหม่ ฯลฯ อันจะเป็นปัจจัยสำคัญให้บ้านเมืองของเรา สังคมของเรา ชีวิตของเรา มีความเจริญก้าวหน้า แบบมั่นคง ยั่งยืน สมานฉันท์ เท่าเทียม เป็นธรรม และสันติสุข มากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปัญหาข้าราชการไทย ช่วงที่ 2
เป็นที่ทราบกันดีว่า แต่เดิมระบบการให้ผลตอบแทนข้าราชการไทย เป็นระบบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง โดยเฉพาะการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือน เนื่องจากมีการปรับขึ้นเงินเดือนเลื่อนเป็นขั้น ทุกปีมีการเลื่อนขั้นโดยไม่ขึ้นกับว่าข้าราชการคนดังกล่าวจะมีผลงานหรือไม่มีผลงาน ด้วยระบบการให้ผลตอบแทนดังกล่าวนี้เองทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในระบบราชการไทย กล่าวคือ ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดีที่สุด กลับไม่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด แต่กลับรับผลตอบแทน ในระดับที่ไม่แตกต่างจากผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับอื่น ซึ่งไม่จูงใจให้ข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ท้ายที่สุดแล้วทำให้ระบบไม่สามารถรักษาข้าราชการที่มีคุณภาพเอาไว้ได้ เนื่องจากข้าราชการเหล่านี้เลือกที่จะลาออกไปทำงานบริษัทเอกชนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า
วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554
อัญมณีไทยโตได้ในตลาดเยอรมณี
ที่มา: http://www.depthai.go.th
วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
กระบวนการการเรียนรู้
กระบวนการการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 1 เปิดใจรับข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 คิด วิเคราะห์ ไตร่ตรองจนเข้าใจ
ขั้นตอนที่ 3 ประยุกต์ใช้ในทางสร้างสรรค์ หรือ เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม
"กระบวนการทางเคมีจะสมบูรณ์ครบถ้วนจนนำสู่ผลปลายทางที่ต้องการได้ จะต้องดำเนินไปตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างเพียบพร้อม และไม่สามารถข้ามลัดขั้นตอนได้ฉันใด กระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริงจะครบถ้วนสมบูรณ์จนไปถึงผลบั้นปลายที่สร้าง สรรค์ได้จะต้องดำเนินไปตามกระบวนการแห่งการเรียนรู้ทุกขั้นตอน และ ไม่สามารถขาดเว้นขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้เช่นกันฉันนั้น"
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)