วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะกับชีวิตคนเมือง ตอนที่ 2/2

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ผมมองว่า ประเทศไทยในทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดต่าง ๆ ล้วนมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่สำคัญ ในประเทศเรามีผู้ที่มีฝีมือทางด้านนี้เป็นจำนวนไม่น้อย อาทิ กรุงเทพฯ มีการสั่งสมของศิลปะความงดงามในอดีตที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สะท้อนออกเป็นความงามผ่านวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ดังนั้น หากมีการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงจัง เราสามารถทำให้ศิลปะเหล่านี้ซึมซับในทุก ๆ พื้นที่ของเมือง

ตัวอย่างเช่น การแต่งแต้มรถประจำทาง ให้มีการเพ้นส์หรือวาดภาพที่สื่อถึงเอกลักษณ์ไทย การปรับภูมิทัศน์ริมน้ำเจ้าพระยา โดยมีการสร้างประติมากรรมอันงดงามโดดเด่น การเปิดพื้นที่ให้กับศิลปินร่วมสมัยทุกวัย โดยวิธีการนำเสนอนั้นแตกต่างไปตามพื้นที่ เช่น หากเป็นพื้นที่บริเวณโรงเรียนอาจให้นักเรียนนำเสนอศิลปะที่สร้างสรรค์ หรือในส่วนของพื้นที่ใต้ทางด่วนในกรุงเทพ ฯ อาจเปิดให้เด็กหรือเยาวชนมาเพ้นส์ Graffiti เพื่อให้บริเวณนั้นดูสวยงาม การจัดแสดงผลงานศิลปะในบริเวณสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น

คนเมืองจะอยู่อย่างมีความสุข หากศิลปะอันงดงามทุกรูปแบบของเราจะไม่ถูกเก็บไว้ ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง แต่เป็น “สาธารณศิลป์” โดยแต่งแต้มและสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ด้วยฝีมือของศิลปินไทย เพื่อให้คนทั่วไปได้เสพสุนทรีย์ในชีวิตประจำวัน ได้มีโอกาสเติมเต็มความสุข ผ่อนคลายความเครียดจากการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่ต้องแข่งขันและแออัด

การสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ด้วยฝีมือของศิลปินไทย ไม่เพียงแต่งแต้มให้เมืองสวยงาม ผู้คนมีความสุขมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมในเชิงการท่องเที่ยวอีกด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นมนต์เสน่ห์ของประเทศที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวและสัมผัสกับวิถีความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี

ตอนที่ 1   ตอนที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น