วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วิธีการจัดการความขัดแย้ง

1.ขอการยอมรับความคิดเห็น โดยควรตระหนักรับฟังความคิดเห็นของที่ประชุมอย่างกว้างขวาง หากค่อนข้างแน่ใจว่าข้อถกเถียงเป็นเพียงประเด็นเล็กน้อย ให้พยายามประมวลความเห็นรวบยอดโดยการคิดดัง ๆ และถามทุกคนว่า “จะยอมรับข้อสรุปนี้ได้ไหม ?”

2.ทดลองโหวต หากไม่แน่ใจว่าทุกคนที่ประชุมมีความเห็นแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ควรใช้วิธีการ “ลองโหวตเล่น ๆ” เพื่อให้ทราบทิศทางความเห็นของที่ประชุม

3.ตกลงนอกห้องประชุม หากประเด็นของการถกเถียงดุเด็ดเผ็ดมัน จึงจะกล่าวได้ว่า “ประเด็นนี้ยังไม่สุก (งอม)” และจะมอบอำนาจให้ทุกคนที่มีความเห็นแตกต่างกันไปจัดการแก้ไขความเห็นที่ขัดแย้งกันเองนอกที่ประชุมใหญ่เสียก่อน โดยอาจตั้งเป็นคณะทำงานชุดย่อย

4.กรณีที่ทำทุกวิธีแล้ว แต่ยังมีสมาชิกบางท่านที่ยังโต้แย้งอยู่ มาตรการขั้นเด็ดขาดจะถูกนำมาใช้ เช่น การเตือนว่าหากโหวตไม่ชนะหรือยกจรรยาบรรณของสมาชิกขึ้นมากล่าว ในกรณีที่ผู้ที่โต้แย้งมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับประเด็นที่โต้แย้ง เป็นต้


จากหนังสือ เรื่องเล่าเขย่าคิด




Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น