วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา คำนิยมหนังสือ "เรื่องเล่า เขย่าคิด"

คำนิยม
ประธานรัฐสภา

      เป้าหมายของการสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งและมีคุณภาพในทัศนะของผมมีอยู่ 3 มิติ มิติแรกคือ สังคมคุณภาพ ที่มีคนเก่งและคนดี มีวินัย มีคุณธรรม มีการเมืองการปกครองที่โปร่งใส ยุติธรรม มิติที่สอง คือ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ มีคนที่คิดเป็น ทำเป็น มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และมิติที่สาม คือ สังคมที่สมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน เป็นสังคมที่ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมและทรงคุณค่าที่พึ่งพาที่เกื้อกูลกัน ซึ่งผมเห็นว่าการที่ประชาชนได้อ่านหนังสือที่มีคุณภาพย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะพัฒนาองค์ความรู้ให้สังคมไทยบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เอาใจทั้งส่วนใหญ่ส่วนน้อย


 
การประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบให้ดำเนินการวิธีนี้ เมื่อดำเนินการไประยะหนึ่ง พบว่าการดำเนินการต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น ทุกท่านเกิดความพึงพอใจ อย่างไรก็ตาม ต้องใช้  วิธีลงมติตามเสียงส่วนใหญ่อยู่ดี เพราะเรายังเชื่อในระบบประชาธิปไตยอยู่     
วิธีที่ดีที่สุด คือ ควรใช้วิธีจูงใจเพื่อให้ทุกคนเกิดความพึงพอใจ และสามารถลงมติอย่างเป็น เอกฉันท์ โดยที่สมาชิกทุกคนมีใจเพื่อส่วนรวม ยอมรับว่า ตนเองอาจเสียผลประโยชน์ส่วนตัวบ้าง  แต่หากภาพรวมองค์กรดีกว่า หรือคนส่วนใหญ่ดีกว่า ก็ยินดี
            ผมคิดว่า หากสังคม การทำงานในองค์กรใดๆ โดยเฉพาะองค์กรที่ทำงานอาสาสมัครทำเช่นนี้ งานจะไปได้ดี คนจะมีความสุขในการทำงาน และที่สำคัญที่สุด สังคมส่วนรวมจะได้ประโยชน์ หากทุกการตัดสินใจ ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
 
 
Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

นักเขียนรวยประเทศจึงรวย


จากสถิติการอ่านหนังสือของคนไทย ในปี 2546 พบว่า มีคนไม่อ่านหนังสือมากถึงร้อยละ 40 ของประชากรทั้งหมดหรือเท่ากับ 22.4 ล้านคน และในส่วนที่คนอ่านหนังสือมากกว่าครึ่งอ่านหนังสือพิมพ์รองลงมาเป็นหนังสือที่ให้ความบันเทิงเป็นหลัก ส่วนหนัง สือประเภทให้ความรู้ยังมีผู้นิยมอ่านน้อย เพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่มีวัฒนธรรมรักการอ่าน การเขียน เรามีวัฒนธรรมการพูด การฟัง หนังสือในบ้านเราจึงไม่ได้รับความนิยมเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือแม้แต่เวียดนาม คนในประเทศเหล่านี้มีนิสัยรักการอ่านมากกว่าเรา
ลองคิดดู..คนที่มีสติปัญญา มีความคิดความอ่านลึกซึ้ง อุตส่าห์ทุ่มเทเวลาและความอุตสาหะผลิตผลงานทางความคิดออกมา จัดพิมพ์เป็นหนังสือ ขายเล่มละ 200 บาท คนบอกว่าแพง เอาเงินไปซื้อเสื้อผ้าดีกว่า ตัวละ 199 บาท เหลือเงินทอนอีกตั้ง 1 บาท นี่แสดงว่าไม่เห็นคุณค่าทางปัญญา ผมลองพยายามผลักดันค่านิยมรักการอ่านให้กับคนในสังคมมาโดยตลอด อาทิ ในหนังสือกรุง เทพเมืองน่าอยู่ ผมได้นำเสนอแนวคิดว่า เราต้องพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองต้นแบบ คนมีวัฒนธรรมรักการอ่าน และได้เขียนหนัง สือสอนลูกรักเป็นนักอ่าน เพื่อส่งเสริมให้ทุกครอบครัวปลูกฝั่งวัฒนธรรมการอ่านให้ลูกหลาน
                หากคนในสังคมให้ความสำคัญกับการแสวงหาความรู้ การเพิ่มพูนสติปัญญา แวดวงคนอ่านหนังสือจะขยายจำนวนขึ้น ส่งผลให้ตลาดเติบโตขึ้น ย่อมเป็นแรงจูงใจให้นักเขียนทุ่มเทกำลังกาย ใจ และสติปัญญา เพื่อผลิตผลงานคุณภาพออกมามากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ นักเขียนอาจจะพอมีโอกาสมีรายได้อย่างดีเหมือนต่างประเทศ
                เมื่อนักเขียน มีสิทธิรวย สิ่งที่ตามมาคือ การแข่งขันผลิตผลงานคุณภาพออกสู่ตลาด ส่งผลให้ทางเลือกหนังสือดีๆ ของผู้บริโภคย่อมมีเพิ่มขึ้น และเมื่อผู้อ่านบริโภคหนังสือดี มีคุณภาพ สิ่งที่จะได้เกิดขึ้น คือ คุณภาพทางปัญญาของคนในประเทศย่อมได้รับการยกระดับขึ้น ส่งผลให้โอกาสที่เราจะก้าวให้ทันประชาคมโลกย่อมเป็นไปได้ โดยไม่ต้องพึ่งความเอื้ออาทรจากรัฐบาลตลอดเวลา




Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555


เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์เป็นซุปเปอร์แมน



         ตาของเราไม่สามารถมองเห็นระยะไกลๆ และไม่สามารถมองเห็นสิ่งของที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ เมื่อมีกล้องส่องทางไกล และกล้องจุลทรรศน์ เราจึงสามารถมองเห็นได้ เทคโนโลยีที่ช่วยขยายขีดความสามารถในการมองของมนุษย์ ย่อมช่วยให้มนุษย์ มี super eyes
          หูของเราฟังได้อย่างจำกัด ไม่สามารถฟังทะลุสิ่งกีดขวางทุกประเภทได้ เมื่อมีเครื่องช่วยฟัง หูของเราก็จะเป็น super ears
          ในสมัยก่อน การเดินทางต้องใช้ ขาเดินบ้าง ใช้ม้า ใช้ลาบ้าง ทำให้การเดินทางแต่ละครั้งเป็นไปอย่างยากลำบากและต้องใช้เวลานาน เมื่อมีการประดิษฐ์รถยนต์ รถไฟ เฮลิคอปเตอร์ เครื่องบิน ทำให้การเดินทางเร็วขึ้น มนุษย์จึงกลายเป็นผู้มีขาวิเศษ super legs
          การใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่จำเป็น หากเรานำมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการใช้เวลา และในการเพิ่มผลผลิตต่างๆ
จึงสรุปว่า เทคโนโลยี คือ สิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นมากกว่ามนุษย์ธรรมดา เกินกว่าความจำกัดของมนุษย์ มนุษย์ที่ใช้เทคโนโลยีจึงเรียกว่าเป็น superman



Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com